พี่เบครับ หมาในภาพแรกอ่อนโยนมากเลยครับ
พี่เบครับ หมาในภาพแรกอ่อนโยนมากเลยครับ
นักเรียนน้อย (24th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
น่ายินดีที่ได้อ่านบทความดีดีได้สาระความรู้ในสิ่งที่ผมเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน
ดีใจที่เวปเล็กๆเวปนึงมีพื้นที่ที่นอกจากจะได้สนุกเพลิดเพลินแล้วยังได้สาระด้วย
ติดตามอ่านอยู่นะครับ แล้วจะรออ่านตอนต่อไป
นักเรียนน้อย (24th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
ผมรอให้ถึงฤดูหนาวจึงออกติดตามร่องรอยหมาในอีกครั้ง โดยใช้ข้อมูล
ที่บันทึกไว้ในปีที่ผ่านมามาประกอบการตามหาตัวพวกมัน
หมาในออกหากินทั้งแบบเป็นฝูง แยกเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละ๒-๓ ตัว รวมถึงการออกหากินตัวเดียว
เวลาที่แยกกันเดินทางพวกมันสื่อสารกันด้วยการเยี่ยวหรือถ่ายเอาไว้ แต่ละตัวต่างมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัว พอตัวอื่นในฝูงผ่านมาจะรู้ว่ากลิ่นนี้เป็นของตัวใด ผมมักพบขี้หมาในกองกระจายอยู่ในบริเวณ
เดียวกัน และพบในที่เดิมเมื่อพวกมันกลับมาใช้เส้นทางเดิมสัญจร สัญลักษณ์ที่หมาในทิ้งไว้เป็นร่องรอย
อย่างดีสำหรับการตามหาตัว ทำให้รู้ว่าพวกมันอยู่แถวไหนและคาดเดาได้ว่ากำลังมุ่งหน้าไปที่ใด
เมื่อคาดว่าหมาในมุ่งหน้าไปทางไหน ผมจะไปรออยู่ตามจุดที่หมาในเคยปรากฏตัว โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ๆ
แหล่งน้ำ ซึ่งได้ผลดีทีเดียว ที่ศาลาพรมผมพบหมาในออกทำงาน ๓ ครั้งในช่วงวันใกล้เคียงกับที่พบในปีแรก
ส่วนที่ทุ่งกะมังฝูงหมาในเข้ามาทำงานในจุดเดิมในช่วงเดือนเดียวกันกับปีที่ผ่านมา
ผมเริ่มจดจำหมาในได้ ๔ ฝูง ฝูงใหญ่ที่สุดมีสมาชิก ๑๒ ตัว อีก ๒ ฝูงมี ๘ ตัว ส่วนอีกฝูง
ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัดแต่ไม่น่าเกิน ๑๐ ตัว การที่หมาในบางฝูงมีสมาชิกที่ถูกติดปลอกคอทำให้
แยกแยะฝูงหมาในได้ง่ายขึ้น ในจำนวน ๔ ฝูง มีอยู่ ๒ ฝูง ที่เข้ามาหากินในบริเวณศาลาพรม
และที่บริเวณโป่งเทียมติดกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติไม่ไกลจากทุ่งกะมังก็พบหมาใน ๒ ฝูง
เข้ามาไล่ล่ากวางป่า
ในบรรดาฝูงหมาในที่รู้จัก มีอยู่ฝูงหนึ่งที่ผมพบบ่อยที่สุดและคุ้นเคยมากที่สุด พวกมันมีสมาชิก ๘ ตัว
ผมจำตัวจ่าฝูงได้ดีตั้งแต่ครั้งแรกที่พบเพราะใบหูข้างหนึ่งแหว่งไป ตรงกับลักษณะหมาในตัวแรกที่
คุณลอนจับติดปลอกคอ แต่ไม่นานปลอกคอก็หลุด เดิมทีจ่าฝูงตัวนี้ก็มีพวงหางสวยงามเช่นเดียวกับ
ตัวอื่นๆ แต่มันต้องสูญเสียพวงหางไประหว่างทำงานเพื่อล้มกวางหนุ่มตัวหนึ่ง หลังจากนั้นมาผมจึง
เรียกมันว่า เจ้าหางกุด
QuanTum (27th June 2012), Surin (24th June 2012), TOR-HONG (24th June 2012), คุณหญิงกระแตแต้แว้ด (27th June 2012), ยายแม้น (27th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012)
เจ้าหางกุด เป็นหมาในที่โตเต็มที่รูปร่างสมบูรณ์สวยงามที่สุดตัวหนึ่งที่ผมเคยพบ
ร่างกายที่เต็มไปด้วยริ้วรอยบาดแผลจากการผ่านชีวิตมาอย่างโชกโชนเป็นตัวอย่างที่ดี
ที่บอกให้รู้ว่า ชีวิตนักล่าไม่ได้อยู่อย่างง่ายดายนัก ครั้งแรกที่เจอกัน พอเจ้าหางกุดเข้ามา
ใกล้บังไพรก็ตกใจ ส่งเสียงครางในลำคอและวิ่งพรวดพราดหนีไป แต่หลังจากนั้นพอฝูงของ
มันล่าเหยื่อได้ในครั้งต่อมา เราจึงเจอกันบ่อยขึ้น ความแปลกหน้าค่อยๆ หายไป
พอเริ่มรู้จักกัน เจ้าหางกุดก็เดินผ่านด้านหลังบังไพรไปเฉยๆ เลิกแสดงอาการตื่นตกใจ บาง
ครั้งก่อนจะเข้าไปกินซาก มันจะมายืนสำรวจความปลอดภัยบริเวณรอบๆ อยู่ข้างบังไพร
พอกินเสร็จก็มานอนแช่น้ำอยู่หน้าบังไพร... ความจริงผมไม่รู้หรอกว่า นี่คืออาการที่แสดงออกถึง
ความคุ้นเคยหรือไม่ไว้วางใจกันแน่ แต่ผมเชื่อว่าเป็นอย่างแรกมากกว่า
QuanTum (27th June 2012), Surin (24th June 2012), TOR-HONG (24th June 2012), คุณหญิงกระแตแต้แว้ด (27th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012), ไอ้จุก (28th June 2012)
ตลอดช่วงเวลาที่เรียนรู้ทำความรู้จักชีวิตของหมาใน เจ้าหางกุดและเพื่อนๆ
ทำให้ผมรู้ถึงความจริงหลายอย่างของพวกมัน เริ่มจากการใช้เหยื่อกันอย่างคุ้มค่า
ไม่ได้กินทิ้งกินขว้างอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน
ปลายฤดูร้อน ผมพบฝูงของเจ้าหางกุดล้มกวางป่าตัวใหญ่ได้ ตอนที่มาพบซาก
เครื่องในถูกกินไปจนหมด เนื้อที่อกและส่วนท้องถูกกินไปบางส่วน
หมาในกินเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว ตัวที่โตเต็มที่กินเนื้อ ๑ กิโลกรัมได้ภายใน ๔ นาที
และจุอาหารในกระเพาะได้คราวละ ๓-๔ กิโลกรัม
เมื่อกินจนพุงกางหมาในก็นอนพักอยู่แถวนั้น แต่จุดที่ล่าเหยื่อได้อยู่ติดกับเส้นทาง
ศึกษาธรรมชาติที่มีนักนิยมไพรเดินผ่านไปมา พวกมันจึงต้องหลบซ่อนตัว
ช่วงที่หมาในไม่อยู่เหี้ยตัวใหญ่ก็เข้ามากินซาก เป็นเรื่องปรกติที่จะมีสัตว์ป่าหลายชนิดมา
ร่วมแบ่งปันอาหาร มีหมูป่าโทนและนกขุนแผนมากินซากในตอนกลางวัน
ตกกลางคืนก็มีร่องรอยของ ชะมด เม่น และหมีควายเข้ามาแทะกินซาก
QuanTum (27th June 2012), TOR-HONG (24th June 2012), คุณหญิงกระแตแต้แว้ด (27th June 2012), ยายแม้น (26th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012), ไอ้จุก (28th June 2012)
ระหว่างที่ผมเฝ้าซากก็มีนักนิยมธรรมชาติคณะหนึ่งเดินผ่านมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ของเขตฯ
ที่มาช่วยเป็นผู้สื่อความหมายในธรรมชาติ เมื่อเห็นซากก็เดาว่าเป็นหมาในล่าเอาไว้
พวกเขาอยากเห็นจึงพากันหยุดดู โดยไม่รู้ว่ามีบังไพรของผมซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆ
สักพักเดียวทั้งหมดก็เดินจากไป มีเสียงดังมาให้ได้ยินว่า หมาในคงทิ้งซากไปแล้ว
พอเงียบสงบหมาในวัยรุ่นก็แวะเวียนมากินซาก ส่วนรุ่นใหญ่และเจ้าหางกุดจะมากินในช่วงเช้าตรู่
หรือไม่ก็ตอนใกล้ค่ำ พวกที่มีประสบการณ์จะระแวดระวัง มักมาสำรวจความปลอดภัยในบริเวณรอบๆ
ก่อนเข้ากินซาก เป็นธรรมดาที่รุ่นเก๋าจะไม่ยอมพลาดอะไรง่ายๆ ผิดกับรุ่นใหม่ที่อ่อนด้อยน้อย
ประสบการณ์ ทำอะไรมักจะขาดความรอบคอบ
เมื่อเจ้าหางกุดปรากฏตัว ลูกฝูงจะเปิดทางให้มันเข้าไปกินจนกว่าจะอิ่ม มีเพียงคู่ตัวเมียของมัน
เท่านั้นที่ได้รับอภิสิทธิ์กินเหยื่อด้วยกัน แถมบางครั้งเธอยังกระชากลากเหยื่อหนีไปกินตัวเดียว
ซึ่งมันต้องยอม ดูจะเป็นธรรมเนียมที่จ่าฝูงและคู่จะได้กินก่อน เด็กๆ ที่กำลังโตเป็นลำดับถัดมา
พวกวัยรุ่นมักได้กินหลังสุด ฝูงเจ้าหางกุดใช้เวลา ๓ วัน วนเวียนกลับมากินซากจนหมด และใน
สัปดาห์นั้นก็ยังพบสมาชิกบางตัวกลับมานอนแทะกระดูกเล่นในช่วงแดดร่มลมตก
ได้ความรู้เต็มๆ ขอบคุณมากๆ ครับ
ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
ต้องบอกเลยครับพี่เบว่าสุดยอดมากกกกก ได้เห็นทั้งภาพและได้อ่านเนื้อหาความรู้ใหม่ๆอีกขอบคุณจากใจจริงๆครับ
นักเรียนน้อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), ไอ้จุก (28th June 2012)
เนื้อหาดี ดีแบบเน้ ยังไม่ "ปักหมุด" กันอีกหรา ???
นักเรียนน้อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
ยอดเยี่ยมเต็มเปี่ยมเลยครับ
นักเรียนน้อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
ยอดเยี่ยมจริงๆครับคุณเบ เป็นเรื่องราวประกอบภาพที่น่าติดตามมาก
น้าเบต้องใช้เวลาภาคสนามตั้ง 3 ปีเฝ้าติดตามหมาใน เพื่อมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆสมาชิกได้ทราบ
ขอบคุณมากๆครับ (รวมทั้งพี่วรรณชนกด้วยนะครับ) ที่เอาชีวิตในธรรมชาติมาแบ่งปัน..
นักเรียนน้อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
กระทู้คุณภาพและเต็มไปด้วยคุณค่าแบบนี้ ขออนุญาติเอาขึ้นเป็นกระทู้ปักหมุดเลยนะครับ
นักเรียนน้อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)
.....เรียนท่าน Admin ...ทราบ....
.....ร้อยแก้วประกอบภาพที่ไม่ธรรมดา....แบบนี้...
.....ยายว่า..
....ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง.....ที่จะลงในกระทู้ปักหมุด....
....เรื่องสุดยอดแบบเนี๊ยะ..ยายแนะนำให้ลงในกระทู้ "...เสาเข็ม.." ดูจะมั่นคงกว่า...ว่ามั๊ย...!!!(......กลัว..หมุดหลุด..อ่ะน่ะ......อิอิ..)
QuanTum (27th June 2012), TOR-HONG (28th June 2012), นักเรียนน้อย (28th June 2012), นายจ่อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)