ชื่อกระทู้: การทำงานของหมาใน ๒

  1. #16
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    สถานที่
    พิษณุโลก
    โพสต์
    686
    ถูกใจ
    4,148
     
    พี่เบครับ หมาในภาพแรกอ่อนโยนมากเลยครับ

  2. เพื่อนสมาชิกจำนวน 2 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ Surin


  3. #17
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    1,717
    ถูกใจ
    6,352
     
    น่ายินดีที่ได้อ่านบทความดีดีได้สาระความรู้ในสิ่งที่ผมเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน

    ดีใจที่เวปเล็กๆเวปนึงมีพื้นที่ที่นอกจากจะได้สนุกเพลิดเพลินแล้วยังได้สาระด้วย

    ติดตามอ่านอยู่นะครับ แล้วจะรออ่านตอนต่อไป


  4. เพื่อนสมาชิกจำนวน 2 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ Hadida


  5. #18
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    สถานที่
    ขอนแก่น-โคราช
    โพสต์
    83
    ถูกใจ
    418
     
    ผมรอให้ถึงฤดูหนาวจึงออกติดตามร่องรอยหมาในอีกครั้ง โดยใช้ข้อมูล
    ที่บันทึกไว้ในปีที่ผ่านมามาประกอบการตามหาตัวพวกมัน


    หมาในออกหากินทั้งแบบเป็นฝูง แยกเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละ๒-๓ ตัว รวมถึงการออกหากินตัวเดียว
    เวลาที่แยกกันเดินทางพวกมันสื่อสารกันด้วยการเยี่ยวหรือถ่ายเอาไว้ แต่ละตัวต่างมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์
    เฉพาะตัว พอตัวอื่นในฝูงผ่านมาจะรู้ว่ากลิ่นนี้เป็นของตัวใด ผมมักพบขี้หมาในกองกระจายอยู่ในบริเวณ
    เดียวกัน และพบในที่เดิมเมื่อพวกมันกลับมาใช้เส้นทางเดิมสัญจร สัญลักษณ์ที่หมาในทิ้งไว้เป็นร่องรอย
    อย่างดีสำหรับการตามหาตัว ทำให้รู้ว่าพวกมันอยู่แถวไหนและคาดเดาได้ว่ากำลังมุ่งหน้าไปที่ใด


    เมื่อคาดว่าหมาในมุ่งหน้าไปทางไหน ผมจะไปรออยู่ตามจุดที่หมาในเคยปรากฏตัว โดย
    เฉพาะพื้นที่ใกล้ๆ
    แหล่งน้ำ ซึ่งได้ผลดีทีเดียว ที่ศาลาพรมผมพบหมาในออกทำงาน ๓ ครั้งในช่วงวันใกล้เคียงกับที่พบในปีแรก
    ส่วนที่ทุ่งกะมังฝูงหมาในเข้ามาทำงานในจุดเดิมในช่วงเดือนเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

    Attached Images Attached Images  

  6. เพื่อนสมาชิกจำนวน 6 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ นักเรียนน้อย

     QuanTum (27th June 2012), Surin (5th July 2012), TOR-HONG (24th June 2012), ยายแม้น (27th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012)

  7. #19
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    สถานที่
    ขอนแก่น-โคราช
    โพสต์
    83
    ถูกใจ
    418
     
    ผมเริ่มจดจำหมาในได้ ๔ ฝูง ฝูงใหญ่ที่สุดมีสมาชิก ๑๒ ตัว อีก ๒ ฝูงมี ๘ ตัว ส่วนอีกฝูง
    ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัดแต่ไม่น่าเกิน ๑๐ ตัว การที่หมาในบางฝูงมีสมาชิกที่ถูกติดปลอกคอทำให้

    แยกแยะฝูงหมาในได้ง่ายขึ้น ในจำนวน ๔ ฝูง มีอยู่ ๒ ฝูง ที่เข้ามาหากินในบริเวณศาลาพรม
    และที่บริเวณโป่งเทียมติดกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติไม่ไกลจากทุ่งกะมังก็พบหมาใน ๒ ฝูง
    เข้ามาไล่ล่ากวางป่า


    ในบรรดาฝูงหมาในที่รู้จัก มีอยู่ฝูงหนึ่งที่ผมพบบ่อยที่สุดและคุ้นเคยมากที่สุด พวกมันมีสมาชิก ๘ ตัว
    ผมจำตัวจ่าฝูงได้ดีตั้งแต่ครั้งแรกที่พบเพราะใบหูข้างหนึ่งแหว่งไป ตรงกับลักษณะหมาในตัวแรกที่
    คุณลอนจับติดปลอกคอ แต่ไม่นานปลอกคอก็หลุด เดิมทีจ่าฝูงตัวนี้ก็มีพวงหางสวยงามเช่นเดียวกับ
    ตัวอื่นๆ แต่มันต้องสูญเสียพวงหางไประหว่างทำงานเพื่อล้มกวางหนุ่มตัวหนึ่ง หลังจากนั้นมาผมจึง
    เรียกมันว่า เจ้าหางกุด

    Attached Images Attached Images  

  8. เพื่อนสมาชิกจำนวน 7 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ นักเรียนน้อย

     QuanTum (27th June 2012), Surin (24th June 2012), TOR-HONG (24th June 2012), คุณหญิงกระแตแต้แว้ด (27th June 2012), ยายแม้น (27th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012)

  9. #20
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    สถานที่
    ขอนแก่น-โคราช
    โพสต์
    83
    ถูกใจ
    418
     
    เจ้าหางกุด เป็นหมาในที่โตเต็มที่รูปร่างสมบูรณ์สวยงามที่สุดตัวหนึ่งที่ผมเคยพบ
    ร่างกายที่เต็มไปด้วยริ้วรอยบาดแผลจากการผ่านชีวิตมาอย่างโชกโชนเป็นตัวอย่างที่ดี
    ที่บอกให้รู้ว่า ชีวิตนักล่าไม่ได้อยู่อย่างง่ายดายนัก
    ครั้งแรกที่เจอกัน พอเจ้าหางกุดเข้ามา
    ใกล้บังไพรก็ตกใจ ส่งเสียงครางในลำคอและวิ่งพรวดพราดหนีไป แต่หลังจากนั้นพอฝูงของ
    มันล่าเหยื่อได้ในครั้งต่อมา เราจึงเจอกันบ่อยขึ้น ความแปลกหน้าค่อยๆ หายไป


    พอเริ่มรู้จักกัน เจ้าหางกุดก็เดินผ่านด้านหลังบังไพรไปเฉยๆ เลิกแสดงอาการตื่นตกใจ บาง

    ครั้งก่อนจะเข้าไปกินซาก มันจะมายืนสำรวจความปลอดภัยบริเวณรอบๆ อยู่ข้างบังไพร
    พอกินเสร็จก็มานอนแช่น้ำอยู่หน้าบังไพร... ความจริงผมไม่รู้หรอกว่า นี่คืออาการที่แสดงออกถึง
    ความคุ้นเคยหรือไม่ไว้วางใจกันแน่ แต่ผมเชื่อว่าเป็นอย่างแรกมากกว่า


    Attached Images Attached Images  

  10. เพื่อนสมาชิกจำนวน 7 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ นักเรียนน้อย

     QuanTum (27th June 2012), Surin (24th June 2012), TOR-HONG (24th June 2012), คุณหญิงกระแตแต้แว้ด (27th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012), ไอ้จุก (28th June 2012)

  11. #21
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    สถานที่
    ขอนแก่น-โคราช
    โพสต์
    83
    ถูกใจ
    418
     
    ตลอดช่วงเวลาที่เรียนรู้ทำความรู้จักชีวิตของหมาใน เจ้าหางกุดและเพื่อนๆ
    ทำให้ผมรู้ถึงความจริงหลายอย่างของพวกมัน เริ่มจากการใช้เหยื่อกันอย่างคุ้มค่า
    ไม่ได้กินทิ้งกินขว้างอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน


    ปลายฤดูร้อน ผมพบฝูงของเจ้าหางกุดล้มกวางป่าตัวใหญ่ได้ ตอนที่มาพบซาก
    เครื่องในถูกกินไปจนหมด เนื้อที่อกและส่วนท้องถูกกินไปบางส่วน
    หมาในกินเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว ตัวที่โตเต็มที่กินเนื้อ ๑ กิโลกรัมได้ภายใน ๔ นาที
    และจุอาหารในกระเพาะได้คราวละ ๓-๔ กิโลกรัม


    เมื่อกินจนพุงกางหมาในก็นอนพักอยู่แถวนั้น แต่จุดที่ล่าเหยื่อได้อยู่ติดกับเส้นทาง
    ศึกษาธรรมชาติที่มีนักนิยมไพรเดินผ่านไปมา พวกมันจึงต้องหลบซ่อนตัว

    ช่วงที่หมาในไม่อยู่เหี้ยตัวใหญ่ก็เข้ามากินซาก เป็นเรื่องปรกติที่จะมีสัตว์ป่าหลายชนิดมา

    ร่วมแบ่งปันอาหาร มีหมูป่าโทนและนกขุนแผนมากินซากในตอนกลางวัน
    ตกกลางคืนก็มีร่องรอยของ ชะมด เม่น และหมีควายเข้ามาแทะกินซาก

    Attached Images Attached Images  

  12. เพื่อนสมาชิกจำนวน 7 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ นักเรียนน้อย

     QuanTum (27th June 2012), TOR-HONG (24th June 2012), คุณหญิงกระแตแต้แว้ด (27th June 2012), ยายแม้น (26th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012), ไอ้จุก (28th June 2012)

  13. #22
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    สถานที่
    ขอนแก่น-โคราช
    โพสต์
    83
    ถูกใจ
    418
     
    ระหว่างที่ผมเฝ้าซากก็มีนักนิยมธรรมชาติคณะหนึ่งเดินผ่านมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ของเขตฯ
    ที่มาช่วยเป็นผู้สื่อความหมายในธรรมชาติ เมื่อเห็นซากก็เดาว่าเป็นหมาในล่าเอาไว้
    พวกเขาอยาก
    เห็นจึงพากันหยุดดู โดยไม่รู้ว่ามีบังไพรของผมซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆ
    สักพักเดียวทั้งหมดก็เดินจากไป มีเสียงดังมาให้ได้ยินว่า หมาในคงทิ้งซากไปแล้ว


    พอเงียบสงบหมาในวัยรุ่นก็แวะเวียนมากินซาก ส่วนรุ่นใหญ่และเจ้าหางกุดจะมากินในช่วงเช้าตรู่
    หรือไม่ก็ตอนใกล้ค่ำ พวกที่มีประสบการณ์จะระแวดระวัง มักมาสำรวจความปลอดภัยในบริเวณรอบๆ
    ก่อนเข้ากินซาก เป็นธรรมดาที่รุ่นเก๋าจะไม่ยอมพลาดอะไรง่ายๆ ผิดกับรุ่นใหม่ที่อ่อนด้อยน้อย
    ประสบการณ์ ทำอะไรมักจะขาดความรอบคอบ


    เมื่อเจ้าหางกุดปรากฏตัว ลูกฝูงจะเปิดทางให้มันเข้าไปกินจนกว่าจะอิ่ม มีเพียงคู่ตัวเมียของมัน
    เท่านั้นที่ได้รับอภิสิทธิ์กินเหยื่อด้วยกัน แถมบางครั้งเธอยังกระชากลากเหยื่อหนีไปกินตัวเดียว
    ซึ่งมันต้องยอม ดูจะเป็นธรรมเนียมที่จ่าฝูงและคู่จะได้กินก่อน เด็กๆ ที่กำลังโตเป็นลำดับถัดมา
    พวกวัยรุ่นมักได้กินหลังสุด ฝูงเจ้าหางกุดใช้เวลา ๓ วัน วนเวียนกลับมากินซากจนหมด และใน
    สัปดาห์นั้นก็ยังพบสมาชิกบางตัวกลับมานอนแทะกระดูกเล่นในช่วงแดดร่มลมตก

    Attached Images Attached Images  

  14. เพื่อนสมาชิกจำนวน 7 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ นักเรียนน้อย

     QuanTum (27th June 2012), Surin (24th June 2012), TOR-HONG (24th June 2012), ยายแม้น (26th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), หมอนข้าง (26th June 2012), ไอ้จุก (28th June 2012)

  15. #23
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    1,717
    ถูกใจ
    6,352
     
    ได้ความรู้เต็มๆ ขอบคุณมากๆ ครับ

  16. เพื่อนสมาชิกดังต่อไปนี้ ถูกใจ โพสต์ข้อความนี้ของคุณ Hadida


  17. #24
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    สถานที่
    ขอนแก่น-โคราช
    โพสต์
    83
    ถูกใจ
    418
     
    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Hadida อ่านข้อความ
    ได้ความรู้เต็มๆ ขอบคุณมากๆ ครับ
    ด้วยความยินดียิ่งครับพี่ตู่ ผมก็เข้ามาเก็บความรู้จากพี่ตู่บ่อยๆ เช่นกันครับ

  18. เพื่อนสมาชิกดังต่อไปนี้ ถูกใจ โพสต์ข้อความนี้ของคุณ นักเรียนน้อย


  19. #25
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    8,080
    ถูกใจ
    24,974
     
    ต้องบอกเลยครับพี่เบว่าสุดยอดมากกกกก ได้เห็นทั้งภาพและได้อ่านเนื้อหาความรู้ใหม่ๆอีกขอบคุณจากใจจริงๆครับ

  20. เพื่อนสมาชิกจำนวน 3 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ TOR-HONG

     นักเรียนน้อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014), ไอ้จุก (28th June 2012)

  21. #26
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    977
    ถูกใจ
    10,482
     
    เนื้อหาดี ดีแบบเน้ ยังไม่ "ปักหมุด" กันอีกหรา ???

  22. เพื่อนสมาชิกจำนวน 2 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ ตรูดหมึก


  23. #27
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    56
    ถูกใจ
    104
     
    ยอดเยี่ยมเต็มเปี่ยมเลยครับ

  24. เพื่อนสมาชิกจำนวน 2 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ หนึ่ง


  25. #28
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    129
    ถูกใจ
    1,026
     
    ยอดเยี่ยมจริงๆครับคุณเบ เป็นเรื่องราวประกอบภาพที่น่าติดตามมาก

    น้าเบต้องใช้เวลาภาคสนามตั้ง 3 ปีเฝ้าติดตามหมาใน เพื่อมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆสมาชิกได้ทราบ
    ขอบคุณมากๆครับ (รวมทั้งพี่วรรณชนกด้วยนะครับ) ที่เอาชีวิตในธรรมชาติมาแบ่งปัน..

  26. เพื่อนสมาชิกจำนวน 2 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ หมอนข้าง


  27. #29
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    114
    ถูกใจ
    752
     
    กระทู้คุณภาพและเต็มไปด้วยคุณค่าแบบนี้ ขออนุญาติเอาขึ้นเป็นกระทู้ปักหมุดเลยนะครับ

  28. เพื่อนสมาชิกจำนวน 2 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ QuanTum


  29. #30
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    โพสต์
    3,370
    ถูกใจ
    18,374
     
    .....เรียนท่าน Admin ...ทราบ....
    .....ร้อยแก้วประกอบภาพที่ไม่ธรรมดา....แบบนี้...


    .....ยายว่า..
    ....ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง.....ที่จะลงในกระทู้ปักหมุด....




    ....เรื่องสุดยอดแบบเนี๊ยะ..ยายแนะนำให้ลงในกระทู้ "...เสาเข็ม.." ดูจะมั่นคงกว่า...ว่ามั๊ย...!!!(......กลัว..หมุดหลุด..อ่ะน่ะ......อิอิ..)

  30. เพื่อนสมาชิกจำนวน 5 คน ถูกใจโพสต์ข้อความนี้จาก คุณ ยายแม้น

     QuanTum (27th June 2012), TOR-HONG (28th June 2012), นักเรียนน้อย (28th June 2012), นายจ่อย (28th June 2012), ลุงช้างกับป้าตา (19th February 2014)