PDA

View Full Version : **เรื่องเล่าจากโพรงไพร** โดย..นักเรียนน้อย..



นายจ่อย
24th June 2012, 10:39 PM
....โพรงไพร.... (ขอย้ำว่า..โพรงไพร..เพราะจะได้นึกภาพได้ลึกกว่า..พงไพร..)
....แบบนี้...น้อยคนนักที่จะได้สัมผัส...
....นับเป็นเป็นความโชคดีของพวกเราที่มี..พี่เบ..พี่หวอ.. (อีกคนคือ..พี่กิตติ)
...ให้เกียรติมาถ่ายทอดเรื่องราว..ที่มนุษย์ในเมืองอย่างพวกเรา
...ไม่มีโอกาส(เลย)..ที่จะได้เห็นและสัมผัส....
...ต้องขอขอบคุณพี่เบ...แทนพวกเราทุกๆคนไว้ณ.โอกาสนี้..

...หวังว่าคงได้รับความกรุณาอันดีเยี่ยม..จากพีเบ..พี่หวอ..พี่กิตติ...
...ได้เข้ามาถ่ายทอด...ทั้งเรื่องราว..รูปภาพ..ให้พวกเราอย่างนี้อีกบ่อยๆ....นะจ๊ะ..


.....คำกล่าวที่เกริ่นนำไว้ข้างบนนั้น คุณยายแม้นกล่าวไว้อย่างกินใจยิ่งนัก เหตุเพราะเรื่องราวที่จะรวบรวมมานำเสนอนั้น ตรงใจของคณะผู้จัดทำเวปบอร์ด ที่ตั้งใจว่าต้องการให้มีการนำเสนอ

เนื้อหาดีๆมีประโยชน์ จากบุคคลที่มากพร้อมด้วยประสปการณ์ในแขนงต่างๆซึ่งยินดีที่จะถ่ายทอดต่อเหล่าสมาชิกและสาธารณะชนให้ได้ทราบ...จึงขอโอกาสนี้รวบรวมเพ่ือนำเสนอต่อไป..

นายจ่อย
26th June 2012, 11:03 PM
การทำงานของหมาใน

...โดย..นักเรียนน้อย

จัดให้ตามที่ขอ ประมาณนี้ไหวไหมครับ นายจ่อย *** ฉบับทดลอง... ได้โปรดแนะนำและวิจารณ์ครับ ***

๑...
ความเฉอะแฉะเปียกชื้นทำให้หลายคนไม่ชอบเดินทางท่องป่าในหน้าฝน บางคนถ้ารู้ว่าต้องมาเผชิญกับกองทัพทากก็พลอยให้งดเข้าป่าหน้านี้ไปเลย

ความจริงป่าแต่ละฤดูมีเสน่ห์มีความงามในแบบฉบับของตัวเอง หน้าฝนป่าเขียวขจีมีน้ำท่าอาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นฤดูกาลแห่งความสุขของสรรพชีวิตในป่าใหญ่

คนที่เข้าป่าหน้าฝนอาจจะลำบากอยู่บ้าง แต่อุปสรรคก็มีไว้ให้ฝ่าฟันมิใช่หรือ!

บ่อน้ำมหัศจรรย์ยังเป็นตัวเลือกแรกสำหรับการเรียนรู้ ถึงตอนนี้นกจะมีที่ให้เลือกไปใช้น้ำได้มากมาย แต่ผมก็เลือกมาเฝ้ารออยู่ในบังไพร

เผื่อว่าจะพบเห็นพฤติกรรมใหม่ๆ ของนกที่อาจต่างไปจากในฤดูแล้ง รวมทั้งอาจมีนกหรือสัตว์ชนิดใหม่มาใช้น้ำ

ฝนโปรยละอองมาตั้งแต่เช้า แม้จะหยุดตกในตอนสายแต่ท้องฟ้าก็ยังอึมครึม สำหรับคนเดินทาง-ถ่ายภาพมันเป็นช่วงเวลาเหงาๆที่ต้องพบกับสภาพอากาศที่ยากยิ่งต่อการ

ทำงานตลอดทั้งวันมีแค่นกจับแมลงจุกดำกับนกระวังไพรปากเหลืองที่มาเล่นน้ำ จนกระทั่งหลังห้าโมงเย็น ผมก็ได้ยินเสียงร้องที่เริ่มคุ้นเคยเมื่อออกมาใช้ชีวิตในป่าใหญ่

เป๊บ ๆๆ เสียงร้องแสดงอาการตื่นตกใจของกวางป่าดังแว่วมา บางทีมันอาจจะเจอสัตว์แปลกหน้าอย่างมนุษย์ หรือกำลังถูกไล่ต้อนจากสัตว์ผู้ล่า

เสียงกวางป่าเงียบหายไปได้ไม่นานก็ดังขึ้นอีก คราวนี้มันร้องถี่ขึ้นและนานกว่าเดิม ผมจึงเก็บของรีบรุดออกจากบังไพรตั้งใจจะขับรถตามไปดูเหตุการณ์

ระหว่างทางก่อนถึงที่จอดรถพี่หวอก็ขับรถสวนทางมาและร้องบอก “ไปๆ ขึ้นรถ หมาในกำลังกัดกวาง” ผมกระโดดขึ้นกระบะหลังรถทันที

เรามุ่งหน้าตามเสียงกวางป่าไปได้พักเดียวก็มาถึงที่เกิดเหตุ ความจริงพี่หวอมาพบเหตุการณ์ก่อนผม แต่ฟิลม์หมดไม่มีสำรองจึงต้องย้อนกลับไปเอาที่บ้านพัก

ผมเลยพลอยโชคดีมาทันเห็นเหตุการณ์

เรากึ่งเดินกึ่งวิ่งไปอีกราว ๓๐๐ เมตรก็ถึงริมน้ำ มีหมาใน ๓ ตัวกำลังไล่กัดกวางป่าอยู่ในน้ำ หมาใน ๒ ตัวเลือกกัดที่ส่วนหน้าบริเวณดวงตาทั้งสองข้างของกวางป่า

อีกตัวหนึ่งกัดอยู่ที่ขาหลัง มีอีกตัวเดินไปมาอยู่บนฝั่งด้านตรงข้ามกับจุดที่เรายืนอยู่ โชคดีที่ตรงนั้นเป็นพุ่มไม้ใหญ่ให้พอได้อาศัยหลบซ่อนตัว แต่โชคร้ายคือเราไม่มี

จุดที่จะถ่ายภาพได้ดีๆ มีกิ่งไม้บังไปหมด รวมทั้งต้นกกที่อยู่ริมน้ำก็สูงจนบดบังบริเวณที่หมาในกำลังไล่ล่ากวางป่า

กวางป่าตัวเมียขนาดโตเต็มที่ไม่ยอมตกเป็นเหยื่อง่ายๆ มันสลัดตัวที่กัดขาหลังจนหลุดและหนีลงไปในน้ำลึกกว่าเดิม ทว่ายังเหลือหมาในที่กัดอยู่ที่ดวงตาทั้งสองข้าง

กวางป่าสะบัดหัวไปมาหลายครั้ง แต่ไม่อาจสลัดหลุดปากหมาในที่งับติดแน่น จนเมื่อกวางป่าสะบัดหัวขึ้นอย่างแรงส่งตัวหมาในลอยพ้นผืนน้ำขึ้นไปในอากาศ

พอสะบัดอีกครั้งจึงเป็นอิสระและดิ้นรนหลบหนี แต่ก็ถูกฝูงหมาในเข้าโจมตีอย่างต่อเนื่อง

พี่หวอช่วยรั้งกิ่งไม้ออกให้ผมถ่ายภาพก่อน ผมต้องเขย่งยืนด้วยปลายเท้า กลั้นลมหายใจเกร็งข้อมือซ้ายประคองเลนส์ ส่วนมือขวาพยายามกดชัตเตอร์อย่างมั่นคงที่สุด

เพราะขาตั้งกล้องหมดสิทธิ์ใช้งานในสภาพนี้เวลาผ่านไปไม่น้อยกว่า ๑๕ นาที ฝูงหมาในดูอ่อนล้าจากการทำงานที่ต้องใช้พละกำลังมากเป็นพิเศษ เพราะต้องว่ายน้ำเข้า

โจมตี การเคลื่อนที่ของหมาในเริ่มช้าลง

มี ๒ ตัวหมดแรงอย่างเห็นได้ชัดและลอยคอกลับขึ้นฝั่ง แต่ตัวที่ดูจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อนยังไม่ยอมเลิกรา ผมเดาเอาว่ามันน่าจะเป็นจ่าฝูง ถึงดูอ่อนแรงแต่ยังคงว่ายน้ำ

เข้าจู่โจมกระโดดขึ้นตะปบหลังเหยื่อเคราะห์ร้ายอย่างไม่ลดละ เที่ยวแล้ว เที่ยวเล่า ดูเหมือนว่าหากเหยื่อไม่ล้ม มันก็ไม่ยอมเลิกรา

แม้กวางป่าจะดูได้เปรียบตรงที่ตัวสูงพอจะยืนอยู่ในน้ำได้ ส่วนหมาในต้องว่ายน้ำและเหลือไล่ล่าอยู่เพียงตัวเดียว แต่หนทางของกวางป่าก็ดูมืดมิด เพราะมันได้สูญเสียดวง

ตาไปทั้งสองข้าง เลือดผสมกับน้ำไหลเป็นทางออกมาจากบริเวณดวงตาของเหยื่อเคราะห์ร้าย เหี้ยตัวใหญ่ที่อยู่บริเวณนั้นมาตั้งแต่แรกยังคงว่ายน้ำวนไปเวียนมาอยู่รอบๆ

มันคงรู้ว่าอีกไม่นานจะมีอาหารที่เป็นผลพลอยได้จากการทำงานของหมาในก่อนหน้านี้ผมเคยเห็นฝูงหมาในไล่ลูกกวางป่าไปจนมุมที่ชายน้ำ หมาใน ๒ ตัวกัดที่บริเวณหน้า

อีกตัวหนึ่งกัดเข้าที่ขาหลัง หมาในจัดการเหยื่อได้อย่างรวดเร็วและช่วยกันลากเหยื่อขึ้นจากน้ำ แม้แม่กับกวางพี่เลี้ยงจะเข้าไปช่วย แต่ก็ช่วยแบบกล้าๆ กลัวๆ หมาในจึงลาก

เหยื่อผ่านหน้าไปอย่างไม่สะทกสะท้านหายลงไปในหุบติดลำธาร เหตุการณ์คราวนั้นเกิดขึ้นเร็วมาก ผมเห็นแค่ว่าหมาในกัดเหยื่อแบบไหน มาคราวนี้ถึงผมไม่เห็น

เหตุการณ์มาตั้งแต่ต้น แต่ก็เริ่มปะติดปะต่อการทำงานของหมาในได้บ้าง ในการจู่โจมจะมีหมาในตัวหนึ่งคุมเชิงอยู่รอบนอกคอยเป็นยามระวังภัยให้กับฝูงที่กำลังทำงาน

ส่วนหน่วยจู่โจมเมื่อเข้าประชิดตัวเหยื่อ พวกหนึ่งจะเข้ากัดที่ดวงตาเพื่อทำลายการมองเห็น เหยื่อจะได้หนีลำบาก อีกพวกหนึ่งจะกัดบริเวณขาหลังเพื่อจะให้เหยื่อล้ม หาก

เหยื่อล้มลงหมาในจะรุมเล่นงานได้ง่ายขึ้น

หลังจากล้างฟิลม์สไลด์มีภาพที่บอกเล่าเรื่องราวได้ดีอยู่ภาพหนึ่ง เพื่อนฝูงหลายคนมีโอกาสได้เห็น หลายคนเบือนหน้าหนีและบอกว่า... ทำใจยอมรับได้ยาก

ฉากชีวิตที่เห็นอาจจะดูทารุณและโหดร้าย แต่เราต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อทำความเข้าใจ มันเป็นเรื่องปรกติของวิถีชีวิตในธรรมชาติ ทุกชีวิตต่างมีหน้าที่ของตนเอง สำหรับ

หมาในนี่เป็นเพียงแค่การทำงานเพื่อดำรงชีวิต หนึ่งชีวิตเพื่ออีกหลายชีวิตจะอยู่รอด

เมื่อภาพปรากฏออกไปในวงกว้าง ผมได้รับคำถามตามมาไม่น้อย...

ภาพ “การทำงานของหมาใน” รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการประกวดภาพถ่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ

“สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ”

ของกรมป่าไม้ ประจำปี ๒๕๔๔ (ถ่ายเมื่อ ปลาย พ.ค. ๒๕๔๔ ที่บึงน้ำข้างๆ เรือนประทับฯ ทุ่งกะมัง เขตฯ ภูเขียว)

(Canon eos3 + 300 f4 is +1.4x fuji provia 100 Push 2 stop;speed (ประมาณ) 1/30 s f 5.6 Av mode)

นายจ่อย
26th June 2012, 11:15 PM
การทำงานของหมาใน ๒+๓


โดย.. นักเรียนน้อย

ภาพ “การทำงานของหมาใน” ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อนำไปแสดงในงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๔ หลังจากที่ได้

รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการประกวดภาพถ่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ” ของกรมป่าไม้ใน

ปีนั้นในงานมีคนถามหลายเรื่อง คนที่สนใจการถ่ายภาพมักถามว่า “ไปถ่ายมาได้ยังไง” แต่คนทั่วไปจะถามว่า “กวางตัวนั้นรอดหรือเปล่า” หรือ “คิดจะช่วยกวางบ้างไหม”

และ “กวางถูกล่าแบบนี้จะไม่หมดไปจากป่าหรือ” ฯลฯ ผมไม่แน่ใจว่าคนส่วนใหญ่ที่ตั้งคำถาม เคยเห็นหมาในตัวจริงในธรรมชาติมาก่อนหรือไม่ แต่ผมพอจะสรุปได้ว่า

พวกเขามีทัศนคติในแง่ลบกับหมาใน เรื่องนี้ไม่แปลกใจนัก เพราะแม้แต่คนที่เคยเห็นหมาในตัวเป็นๆ ก็ยังตั้งข้อสังเกตต่างๆ กันไป บางคนว่ามันเป็นนักล่าที่ฆ่าเหยื่อเป็น

ว่าเล่น ฆ่าแล้วก็กินทิ้งกินขว้าง จากนั้นก็หันไปล่าเหยื่อตัวใหม่ บางคนเคยเจอฝูงหมาในเพ่นพ่านไม่ไกลจากบ้านพัก หรือบางครั้งเห็นมันไล่ล่าเหยื่อเข้ามาใกล้คนที่เฝ้าดูอยู่

ต่อหน้าต่อตา ก็สรุปเอาว่าพวกมันไม่กลัวใคร แม้แต่มนุษย์ กิตติศัพท์ของหมาในจึงมีแต่ด้านที่ร้ายๆ

แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับอคติที่คนส่วนใหญ่มีต่อหมาใน แต่ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด ทำให้ผมไม่อาจโต้แย้ง ผมจึงออกติดตาม ค้นหา และเรียนรู้ชีวิตของหมาใน เพื่อหา

คำตอบให้กับข้อกล่าวหา รวมทั้งข้อสงสัยส่วนตัวอีกหลายเรื่อง แต่กว่าที่ผมจะพูดได้ว่าพอรู้จักพวกมันบ้าง ก็ต้องใช้เวลากว่า ๓ ปี...

นายจ่อย
26th June 2012, 11:21 PM
โดย...นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)
หลังจากเห็นการทำงานของหมาใน ๒ ครั้งในต้นฤดูฝน พอเข้าฤดูหนาวผมก็ออกแกะรอยหมาในในบริเวณรอบๆ ทุ่งกะมังและหน่วยพิทักษ์ป่าศาลาพรม

ซึ่งทั้งสองจุดอยู่ห่างกันราว ๑๘ กิโลเมตรถ้าวัดจากระยะทางตามถนน

ผมเริ่มด้วยการสอบถามเจ้าหน้าที่ของเขตฯ ว่าเห็นหมาในปรากฏตัวอยู่ที่ไหนบ้าง อีกทางหนึ่งผมได้ข้อมูลจาก คุณลอน กราสแมน เพื่อนนักวิจัยที่กำลังทำวิทยานิพนธ์

ปริญญาเอก งานส่วนหนึ่งของเขาคือดักจับสัตว์ผู้ล่าแล้วติดปลอกคอที่มีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุขนาดเล็ก (Radio-collar) เพื่อช่วยในการบอกตำแหน่งและกิจกรรมใน

รอบวันของสัตว์ ซึ่งหมาในเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เขาศึกษาข้อมูลจากคุณลอนทำให้รู้พื้นที่หากินของหมาใน ส่วนใหญ่จุดที่จับสัญญาณได้อยู่ในป่าทึบและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตาม

การเดินทางหากินของหมาใน ในฤดูหนาวพืชอาหารจะลดลง กวางป่าที่กระจายตัวหากินอยู่ทั่วไปจะมุ่งหน้ามาหากินอยู่รอบๆ บริเวณหน่วยฯ ศาลาพรมซึ่งมีทั้งน้ำและ

อาหาร โดยเฉพาะลานหญ้าใกล้ๆ บ้านพัก มีกวางป่ามารวมฝูงกว่า ๕๐ ตัว... เมื่อสัตว์กินพืชมารวมตัวกัน สัตว์ผู้ล่าก็มักจะตามมา

นายจ่อย
26th June 2012, 11:31 PM
โดย ...นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)
ต้นฤดูหนาวหมาในออกทำงานที่ศาลาพรมบ่อยมาก เพราะมีกวางป่าให้เลือกตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่ หมาในจะใช้ทุกวิถีทางเพื่อล่าเหยื่อให้ได้

โดยมักจะส่งสมาชิกเข้าไปก่อกวนในฝูงกวางป่า พยายามไล่กวางป่าที่หมายตาให้หนีไปทางฝูงหมาในที่หลบอยู่ตามแนวชายป่า แต่มักจะไม่ได้ผล กวางป่ารู้ทัน

ไม่ยอมแตกฝูงมีเหมือนกันที่หมาในวัยรุ่น ๓ ตัวช่วยกันแยกลูกกวางป่าออกมาได้ แต่หมาใน ๒ ตัวต้องคอยสกัดแม่และกวางป่าพี่เลี้ยง หลังจากเล่นไล่จับกัน

อยู่นาน หมาในตัวเดียวที่ด้อยประสบการณ์ก็ทำอะไรลูกกวางป่าที่ตัวโตกว่ามันนิดเดียวไม่ได้ลูกกวางป่าตัวเล็กๆ เมื่อถูกจู่โจมจะตื่นตกใจทำอะไรไม่ถูก หาก

ผลัดหลงจากแม่ก็มักจะตกเป็นเหยื่อ บางตัวหนีการไล่ล่าลงไปในน้ำจนรอดพ้นเงื้อมมือของหมาใน แต่กลับต้องจบชีวิตเพราะจมน้ำตาย

เท่าที่พบส่วนใหญ่หมาในล่าเหยื่อไม่สำเร็จ โดยเฉพาะเมื่อกวางป่าหนีลงน้ำจะรอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อ จนผมคิดว่ากวางป่าหนีลงน้ำเพื่อความได้เปรียบที่

ตัวสูงกว่ายืนอยู่ในน้ำได้ หากหมาในตามลงไปในน้ำจะไล่ล่าลำบากและสูญเสียพละกำลังมาก เพราะต้องว่ายน้ำเข้าโจมตี แต่ผมก็อดสงสัยไม่ได้... หรือว่า

พวกมันกลัวน้ำ

นายจ่อย
26th June 2012, 11:46 PM
โดย..นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)

ช่วงที่อากาศหนาวจัด หมาในก็หายตัวไป เมื่อผมไปขอดูข้อมูลจากคุณลอน จึงรู้ว่าตัวที่ถูกติดปลอกคอหากินวนเวียนอยู่ในพื้นที่ราว ๒๐ ตาราง

กิโลเมตร และยังจับสัญญาณได้ซ้ำๆ ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งต่างจากปรกติที่จะหากินไปเรื่อยๆ และใช้พื้นที่หากินมากกว่า โดยในฤดูฝนจะใช้พื้นที่

หากินราว ๔๕ ตารางกิโลเมตร และ ๓๓ ตารางกิโลเมตร ในฤดูแล้ง ผมตั้งสมมุติฐานว่า น่าจะเป็นช่วงที่แม่หมาในให้กำเนิดลูก ฝูงหมาในต้องช่วยกันหา

อาหารไปให้แม่และลูกที่อยู่ในโพรงรัง

หมาในเป็นสัตว์สังคมมีการแบ่งลำดับชั้นในฝูง จ่าฝูงและคู่จะอยู่ในลำดับสูงสุด ปรกติในฝูงจะมีตัวเมียคู่ของจ่าฝูงตัวเดียวเท่านั้นที่ให้กำเนิดลูก แม่หมาจะ

เลือกสถานที่ในการออกลูกเอง อาจหาถ้ำหรือขุดโพรงลึกลงไปในดินที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำนัก หลังตั้งท้องได้ราว ๙ สัปดาห์ ก็จะตกลูกคราวละ ๒-๙ ตัว

ลูกหมาในอายุได้ ๓ สัปดาห์จะเริ่มกินเนื้อที่ผู้ใหญ่ในฝูงนำมาสำรอกให้ อายุ ๖-๗ สัปดาห์ จึงหย่านม อายุ ๓ เดือนเริ่มเข้าไปกินซากร่วมกับฝูง ในอินเดียเคย

พบหมาในไล่ต้อนเหยื่อให้ไปตายใกล้ๆ รังเพื่อให้ลูกเข้ามากินเหยื่อร่วมกับฝูง อายุ ๘ เดือนเริ่มมีส่วนร่วมในการล่าเหยื่อ และโตเป็นหนุ่ม-สาวเข้าสู่วัยเจริญ

พันธุ์เมื่ออายุประมาณ ๑๕ เดือน หมาในพออายุมากขึ้นจะมีขนสีขาวเด่นชัดขึ้นในบริเวณด้านในใบหู ใต้ปากตลอดไปถึงคอ อก ท้อง และขาพับ

นายจ่อย
26th June 2012, 11:54 PM
โดย..นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)

เมื่ออากาศเริ่มอบอุ่นขึ้นร่องรอยของหมาในก็กลับมาปรากฏให้เห็นมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่รอบๆ ทุ่งกะมังที่มีสัตว์กินพืชจำนวนมากและมีทุ่งหญ้าติดชาย

น้ำที่หมาในชอบออกล่าเหยื่อ เสียงร้องตื่นตระหนกของ กวางป่าและเนื้อทราย เริ่มมีให้ได้ยินถี่ขึ้นเรื่อยๆ ตลอดฤดูร้อนผมมักพบเศษซากกองกระดูกของกวางป่าและเนื้อ

ทรายอยู่ใกล้ๆ กับแหล่งน้ำ

ต้นฤดูฝนข่าวการไล่ล่าของฝูงหมาในมีมาเรื่อยๆ ทั้งที่ศาลาพรมและทุ่งกะมัง ในช่วงนี้ผมพบลูกหมาในอายุราว ๓-๕ เดือนออกเดินทางไปมากับฝูงและร่วมเข้ากินซาก เมื่อ

นับย้อนกลับไปเวลาที่ลูกหมาเกิดจะอยู่ในช่วงฤดูหนาวที่ฝูงหมาในหายตัวไป

พอเข้าสู่ฤดูมรสุมความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์มีมากขึ้น สัตว์กินพืชต่างแยกย้ายกระจายตัวออกไปหากินตามแหล่งอาหารที่มีอยู่ทั่วไป ฝูงหมาในต้องออกหากินกว้างและ

ไกลขึ้น โอกาสที่จะพบตัวหมาในในฤดูมรสุมยากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่านัก

ความตั้งใจที่จะใช้เวลาหนึ่งปีทำงานถ่ายภาพหมาในต้องเปลี่ยนไป เมื่อตลอดทั้งปีผมแทบไม่ได้ถ่ายภาพหมาในเลย เวลาหมดไปกับการตามรอย เรียนรู้วิถีชีวิตและ

พฤติกรรมของพวกมัน

นายจ่อย
27th June 2012, 12:00 AM
โดย..นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)

ผมรอให้ถึงฤดูหนาวจึงออกติดตามร่องรอยหมาในอีกครั้ง โดยใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ในปีที่ผ่านมามาประกอบการตามหาตัวพวกมัน

หมาในออกหากินทั้งแบบเป็นฝูง แยกเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละ๒-๓ ตัว รวมถึงการออกหากินตัวเดียว

เวลาที่แยกกันเดินทางพวกมันสื่อสารกันด้วยการเยี่ยวหรือถ่ายเอาไว้ แต่ละตัวต่างมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์

เฉพาะตัว พอตัวอื่นในฝูงผ่านมาจะรู้ว่ากลิ่นนี้เป็นของตัวใด ผมมักพบขี้หมาในกองกระจายอยู่ในบริเวณ

เดียวกัน และพบในที่เดิมเมื่อพวกมันกลับมาใช้เส้นทางเดิมสัญจร สัญลักษณ์ที่หมาในทิ้งไว้เป็นร่องรอย

อย่างดีสำหรับการตามหาตัว ทำให้รู้ว่าพวกมันอยู่แถวไหนและคาดเดาได้ว่ากำลังมุ่งหน้าไปที่ใด

เมื่อคาดว่าหมาในมุ่งหน้าไปทางไหน ผมจะไปรออยู่ตามจุดที่หมาในเคยปรากฏตัว โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ๆ

แหล่งน้ำ ซึ่งได้ผลดีทีเดียว ที่ศาลาพรมผมพบหมาในออกทำงาน ๓ ครั้งในช่วงวันใกล้เคียงกับที่พบในปีแรก

ส่วนที่ทุ่งกะมังฝูงหมาในเข้ามาทำงานในจุดเดิมในช่วงเดือนเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

นายจ่อย
27th June 2012, 12:06 AM
โดย..นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)
ผมเริ่มจดจำหมาในได้ ๔ ฝูง ฝูงใหญ่ที่สุดมีสมาชิก ๑๒ ตัว อีก ๒ ฝูงมี ๘ ตัว ส่วนอีกฝูง

ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัดแต่ไม่น่าเกิน ๑๐ ตัว การที่หมาในบางฝูงมีสมาชิกที่ถูกติดปลอกคอทำให้

แยกแยะฝูงหมาในได้ง่ายขึ้น ในจำนวน ๔ ฝูง มีอยู่ ๒ ฝูง ที่เข้ามาหากินในบริเวณศาลาพรม

และที่บริเวณโป่งเทียมติดกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติไม่ไกลจากทุ่งกะมังก็พบหมาใน ๒ ฝูง

เข้ามาไล่ล่ากวางป่า

ในบรรดาฝูงหมาในที่รู้จัก มีอยู่ฝูงหนึ่งที่ผมพบบ่อยที่สุดและคุ้นเคยมากที่สุด พวกมันมีสมาชิก ๘ ตัว

ผมจำตัวจ่าฝูงได้ดีตั้งแต่ครั้งแรกที่พบเพราะใบหูข้างหนึ่งแหว่งไป ตรงกับลักษณะหมาในตัวแรกที่

คุณลอนจับติดปลอกคอ แต่ไม่นานปลอกคอก็หลุด เดิมทีจ่าฝูงตัวนี้ก็มีพวงหางสวยงามเช่นเดียวกับ

ตัวอื่นๆ แต่มันต้องสูญเสียพวงหางไประหว่างทำงานเพื่อล้มกวางหนุ่มตัวหนึ่ง หลังจากนั้นมาผมจึงเรียกมันว่า เจ้าหางกุด

นายจ่อย
27th June 2012, 12:10 AM
โดย..นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)
เจ้าหางกุด เป็นหมาในที่โตเต็มที่รูปร่างสมบูรณ์สวยงามที่สุดตัวหนึ่งที่ผมเคยพบร่างกายที่เต็มไปด้วยริ้วรอยบาดแผลจากการผ่านชีวิตมาอย่างโชกโชนเป็น

ตัวอย่างที่ดีที่บอกให้รู้ว่า ชีวิตนักล่าไม่ได้อยู่อย่างง่ายดายนัก ครั้งแรกที่เจอกัน พอเจ้าหางกุดเข้ามาใกล้บังไพรก็ตกใจ ส่งเสียงครางในลำคอและวิ่ง

พรวดพราดหนีไป แต่หลังจากนั้นพอฝูงของมันล่าเหยื่อได้ในครั้งต่อมา เราจึงเจอกันบ่อยขึ้น ความแปลกหน้าค่อยๆ หายไป

พอเริ่มรู้จักกัน เจ้าหางกุดก็เดินผ่านด้านหลังบังไพรไปเฉยๆ เลิกแสดงอาการตื่นตกใจ บางครั้งก่อนจะเข้าไปกินซาก มันจะมายืนสำรวจความปลอดภัย

บริเวณรอบๆ อยู่ข้างบังไพร

พอกินเสร็จก็มานอนแช่น้ำอยู่หน้าบังไพร... ความจริงผมไม่รู้หรอกว่า นี่คืออาการที่แสดงออกถึงความคุ้นเคยหรือไม่ไว้วางใจกันแน่ แต่ผมเชื่อว่าเป็นอย่าง

แรกมากกว่า

นายจ่อย
27th June 2012, 08:07 AM
โดย..นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)
ตลอดช่วงเวลาที่เรียนรู้ทำความรู้จักชีวิตของหมาใน เจ้าหางกุดและเพื่อนๆทำให้ผมรู้ถึงความจริงหลายอย่างของพวกมัน เริ่มจากการใช้เหยื่อกัน

อย่างคุ้มค่าไม่ได้กินทิ้งกินขว้างอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน

ปลายฤดูร้อน ผมพบฝูงของเจ้าหางกุดล้มกวางป่าตัวใหญ่ได้ ตอนที่มาพบซากเครื่องในถูกกินไปจนหมด เนื้อที่อกและส่วนท้องถูกกินไปบางส่วน

หมาในกินเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว ตัวที่โตเต็มที่กินเนื้อ ๑ กิโลกรัมได้ภายใน ๔ นาทีและจุอาหารในกระเพาะได้คราวละ ๓-๔ กิโลกรัม

เมื่อกินจนพุงกางหมาในก็นอนพักอยู่แถวนั้น แต่จุดที่ล่าเหยื่อได้อยู่ติดกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีนักนิยมไพรเดินผ่านไปมา พวกมันจึงต้องหลบซ่อนตัว

ช่วงที่หมาในไม่อยู่เหี้ยตัวใหญ่ก็เข้ามากินซาก เป็นเรื่องปรกติที่จะมีสัตว์ป่าหลายชนิดมาร่วมแบ่งปันอาหาร มีหมูป่าโทนและนกขุนแผนมากินซากในตอน

กลางวันตกกลางคืนก็มีร่องรอยของ ชะมด เม่น และหมีควายเข้ามาแทะกินซาก

นายจ่อย
27th June 2012, 08:13 AM
โดย..นักเรียนน้อย (http://www.birdholiday.com/forums/member.php?44-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2)
ระหว่างที่ผมเฝ้าซากก็มีนักนิยมธรรมชาติคณะหนึ่งเดินผ่านมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ของเขตฯที่มาช่วยเป็นผู้สื่อความหมายในธรรมชาติ เมื่อเห็นซากก็เดาว่า

เป็นหมาในล่าเอาไว้พวกเขาอยากเห็นจึงพากันหยุดดู โดยไม่รู้ว่ามีบังไพรของผมซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆสักพักเดียวทั้งหมดก็เดินจากไป มีเสียงดังมาให้ได้ยิน

ว่า หมาในคงทิ้งซากไปแล้ว

พอเงียบสงบหมาในวัยรุ่นก็แวะเวียนมากินซาก ส่วนรุ่นใหญ่และเจ้าหางกุดจะมากินในช่วงเช้าตรู่หรือไม่ก็ตอนใกล้ค่ำ พวกที่มีประสบการณ์จะระแวดระวัง มัก

มาสำรวจความปลอดภัยในบริเวณรอบๆก่อนเข้ากินซาก เป็นธรรมดาที่รุ่นเก๋าจะไม่ยอมพลาดอะไรง่ายๆ ผิดกับรุ่นใหม่ที่อ่อนด้อยน้อยประสบการณ์ ทำอะไร

มักจะขาดความรอบคอบ

เมื่อเจ้าหางกุดปรากฏตัว ลูกฝูงจะเปิดทางให้มันเข้าไปกินจนกว่าจะอิ่ม มีเพียงคู่ตัวเมียของมันเท่านั้นที่ได้รับอภิสิทธิ์กินเหยื่อด้วยกัน แถมบางครั้งเธอยัง

กระชากลากเหยื่อหนีไปกินตัวเดียวซึ่งมันต้องยอม ดูจะเป็นธรรมเนียมที่จ่าฝูงและคู่จะได้กินก่อน เด็กๆ ที่กำลังโตเป็นลำดับถัดมา

พวกวัยรุ่นมักได้กินหลังสุด ฝูงเจ้าหางกุดใช้เวลา ๓ วัน วนเวียนกลับมากินซากจนหมด และในสัปดาห์นั้นก็ยังพบสมาชิกบางตัวกลับมานอนแทะกระดูกเล่น

ในช่วงแดดร่มลมตก

PLOVER
28th June 2012, 08:53 PM
ได้ความรู้ดีมากค่ะ จะรอติดตามต่อไปนะคะ:072-Applaus90-90: